กฎหมายแก้ไขใหม่และฎีกาที่สำคัญ
หัวข้อกฎหมายแก้ไขใหม่
- ใบกระท่อม
หัวข้อคำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ
- คดีเช่าซื้อ
- คดีที่ดิน
- คดีมรดก
- คดีครอบครัว
- คดีกู้ยืมเงิน
กฎหมายแก้ไขใหม่
กระท้อม
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ผู้ขายใบกระท่อม ต้องติดป้ายห้ามจำหน่ายให้เด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปี สตรีมีครรภ์ – สตรีให้นมบุตร มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การปิดประกาศหรือกรแจ้งให้บุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายหราบถึงข้อห้ามขายใบกระท่อม หรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ พ.ศ. 2556 ลงนามโดยนายชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
1. คำพิพากษาฎีกาคดีเช่าซื้อ
1. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง ผู้เช่าซื้อ ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นภาระหนี้ได้อย่างไร
ฎีกาที่ 5714/2562
หนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีอื่นนั้น มิใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างซึ่งลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกกระทำเพียงการใดการหนึ่งแต่อย่างเดียวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 198 แต่เป็นกรณีที่คำพิพากษาได้กำหนดขั้นตอนการชำระหนี้ไว้เป็นลำดับแล้ว กล่าวคือ โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนจำเลยก่อนเป็นลำดับแรก หากคืนไม่ได้จึงให้ใช้ราคาแทน ดังนั้น เมื่อรถที่เช่าซื้อยังอยู่ในสภาพที่ส่งมอบคืนได้ โจทก์จะเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาด้วยการชำระราคาแทนโดยไม่ส่งมอบรถคืนจำเลยไม่ได้ ที่โจทก์นำเงินราคาใช้แทนกับหนี้อย่างอื่นตามคำพิพากษารวม 274,468.09 บาท ไปวางศาลเพื่อชำระแก่จำเลย ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมรับเงินราคาใช้แทนดังกล่าวไปจากศาล หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงว่าจำเลยสละสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรก โจทก์จึงไม่หลุดพ้นจากหนี้ที่จะต้องส่งมอบรถคืน การที่โจทก์นำเงิน 274,468.09 บาท ไปวางศาลจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้เสร็จสิ้นครบถ้วนตามคำพิพากษา
เมื่อโจทก์ยังมีหนี้ที่ต้องส่งมอบรถคืนแก่จำเลยและไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะครอบครองใช้รถของจำเลยได้โดยชอบอีกต่อไป แม้จำเลยผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จะติดตามเอารถคืนโดยไม่ได้ร้องขอต่อศาลให้บังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเพราะขาดประโยชน์ที่ไม่ได้ใช้รถหรือเสียโอกาสที่จะได้กรรมสิทธิ์ดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบที่จะเป็นละเมิด ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำละเมิดและพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
*****************************************
2. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง ผู้ค้ำประกันจะพ้นผิดแค่ไหนเพียงใดไปดูฎีกานี้ครับ
ฎีกาที่ 5789/2562
สัญญาค้ำประกันทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ใช้บังคับ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติการใช้บังคับมาตรา 681/1 ไว้เป็นอย่างอื่น ข้อสัญญาตามสัญญาค้ำประกันที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงใช้บังคับได้ ส่วนมาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 บัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันก่อนใช้สิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ และหากเจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มาตรา 686 ใช้บังคับนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2558 โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 28 มกราคม 2558 ไปยังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการบอกกล่าวก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด ส่วนหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 เป็นการบอกกล่าวเกินกำหนด 60 วัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงหลุดพ้นความรับผิดเฉพาะแต่ดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดดังกล่าว แต่หน้าที่ในการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันนั้นเป็นหนี้ประธาน หาใช่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ตามมาตรา 686 วรรคสอง แต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทนแก่โจทก์ด้วย
*****************************************
3. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเฃ่าเรื่อง สัญญาเช่าซื้อ
ฎีกาที่ 220/2562
ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์ ข้อ 8 ระบุว่า "บรรดาหนังสือ จดหมาย คำบอกกล่าวใดๆ ของเจ้าของที่ส่งไปยังที่อยู่ของข้าพเจ้าตามสัญญานี้ โดยส่งเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือไม่ลงทะเบียนไม่ว่าจะถึงตัวหรือไม่ถึงตัว และไม่ว่าจะมีผู้รับหรือไม่มีผู้ใดยอมรับไว้ หรือไม่ยอมมารับภายในกำหนดไปรษณีย์แจ้งให้มารับ ... ข้าพเจ้ายินยอมผูกพันให้ถือว่าหนังสือ จดหมาย หรือคำบอกกล่าวใดๆ นั้น ได้ส่งให้ข้าพเจ้าโดยชอบแล้ว" ข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือขอให้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาพร้อมใบตอบรับว่าโจทก์ได้ส่งไปตามที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งไว้ในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแล้ว แม้ทางไปรษณีย์จะคืนหนังสือที่ส่งไปให้จำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่มารับภายในกำหนดก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2558 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 จึงพ้นกำหนดเวลา 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 วัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 วรรคสอง สำหรับหนี้การส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนถือเป็นหนี้ประธาน แม้โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแก่จำเลยที่ 2 เกิน 60 วัน นับแต่ผิดนัดก็ตาม จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมไม่หลุดพ้น ส่วนหนี้ค่าขาดประโยชน์ถือเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดเฉพาะที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนด 60 วัน
*****************************************
4. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง โปรดศึกษาฎีกาที่ศาลได้วินิจฉัยให้ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดด้วย
ผู้เช่าซื้อไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อตามคำพิพากษาให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาแล้วนำออกขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในส่วนที่ขาดราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2566 (เล่ม 2 หน้า 39) โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันให้ร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนและร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ คดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 787,000 บาท และให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดประโยชน์ 45,000 บาท และค่าเสียหายอีกเดือนละ 5,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทนเสร็จสิ้นแต่ไม่เกิน 6 เดือน หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน แต่สำหรับค่าขาดประโยชน์ให้จำเลยที่ 2 ชำระแทนเพียง 10,000 บาท ผลแห่งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงผูกพันคู่ความและทำให้จำเลยทั้งสองมีสถานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายชนะคดีหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีต่อไปได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และมาตรา 274 ประกอบ พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 นอกจากนี้ หากละเลยเสียไม่ชำระหนี้ ตามคำพิพากษาให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ของจำเลยทั้งสอง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นประการใด โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสองเพื่อความเสียหาย อันเกิดจากการนั้นได้อีกด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 215
ภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยไม่ส่งมอบรถยนต์ ที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อย ใช้การได้ดี ทั้งไม่ได้ใช้ราคาแทนรถยนต์ให้แก่โจทก์ จนโจทก์ต้องขวยขวายติดตามรถยนต์คืน จากจำเลยที่ 1 และรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งโจทก์ได้รับคืนมามีสภาพเสียหายชำรุดทรุดโทรม โดยมีรอยขีดข่วนรอบคัน เมื่อนำออกขายทอดตลาดได้เงินจากการขายต่ำกว่าราคารถยนต์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในคำพิพากษาคดีก่อน กรณีจึงต้องถือว่า การละเลยเสียไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยทั้งสองก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นราคารถยนต์ส่วนที่ขาดไป ซึ่งจำเลยทั้งสองในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ละเลยต่อหน้าที่ของตนต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนอันสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์ อันแท้จริงแห่งหนี้ตามคำพิพากษาคดีก่อน มิใช่ค่าเสียหายที่เป็นหลักแหล่งแห่งข้อหาตามสัญญาเช่าซื้อ หรือข้ออ้างที่อาศัยความผูกพันกันตามสัญญาค้ำประกันซึ่งเลิกกันไปแล้ว และศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดจนเสร็จสิ้น กรณีจึงไม่มีเหตุที่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์อันเกี่ยวกับการบอกกล่าวผู้ค้ำประกันให้ทราบความผิดนัดของผู้เป็นลูกหนี้ว่าได้มีการบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 686
( หมายเหตุ 1 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยบังคับจำเลยทั้งสองชำระเงิน 323,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้น พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 320,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ชำระแทนเป็นเงิน 10,000 บาท
2 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เพราะโจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันทราบถึงการผิดนัดของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ละเลยต่อการชำระหนี้ และควรต้องรับผิดไม่แตกต่างไปจากจำเลยที่ 1 ต้องหลุดพ้นไปเสียจากความรับผิดนั้น พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2
3 ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้น โดยพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกัน ชำระเงิน 320,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย)
*****************************************
5. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง สัญญาเช่าซื้อ ผู้ค้ำประกัน ศาลวินิจฉัยไว้อย่างไรบ้างไปดูกัน
สัญญาเช่าซื้อข้อ 12 กำหนดว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่งก็ดี ผู้เช่าซื้อยินยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อได้กลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อและ/หรือบอกเลิกสัญญาได้ทันที ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ 2 โจทก์จึงมีสิทธิดำเนินการตามข้อสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์รับชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ 3 และงวดที่ 4 แสดงว่าโจทก์สละสิทธิตามข้อสัญญานี้ หนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ไม่ถือเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา และยังไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญา ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีผลผูกพันอยู่ การที่ ช. ผู้รับจ้างในการติดตามรถที่เช่าซื้อรถของโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้ง พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายในวันที่ยึดรถที่เช่าซื้อคืน คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะฟ้องเรียกค่าขาดราคาส่วนที่ขายทรัพย์ที่เช่าซื้อไป หรือราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาข้อ 15 ซึ่งระงับไปแล้วไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสี่จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
อนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน 50,987.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงิน 260,987.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง จำเลยทั้งสี่ฎีกาขอให้พิพากษาตามศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงต้องหักต้นเงิน 50,987.20 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ชำระแก่โจทก์ออก ที่จำเลยทั้งสี่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์ 260,987.20 บาท เป็นการชำระค่าขึ้นศาลเกินมา ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่จำเลยทั้งสี่
*****************************************
6. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง ผู้ค้ำประกันควรมีเงื่อนไขในสัญญาค้ำประกันว่า 1
(1).เจ้าหนี้ต้องบังคับคดีกับลูกหนี้ก่อน เมื่อไม่มีทรัพย์จึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินของผู้คำ้ประกัน (2). ต้องมีผู้ค้ำประกันร่วมกันอย่างน้อย 3-4 คน จึงจะค้ำประกันหนี้รายนี้
ผู้ค้ำประกันคือ บุคคลผู้ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น การที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้ดังกล่าว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้ค้ำประกันไว้หลายมาตรา เช่น มาตรา 688 ผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะให้เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน มาตรา 689 ผู้ค้ำประกันมีสิทธิให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน ถ้าการบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ไม่เป็นการยาก มาตรา 690 ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน ผู้ค้ำประกันมีสิทธิร้องขอให้เจ้าหนี้ต้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์ซึ่งเป็นประกันนั้นก่อน นอกจากนี้มาตรา 691 ยังได้บัญญัติว่า ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิดังกล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690 แสดงให้เห็นว่า ถ้าผู้ค้ำประกันทำสัญญาว่ายอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันจะไม่มีสิทธิตามมาตรา 688, 689 และ 690 ถ้าไม่ได้ระบุว่ายอมรับผิดดังกล่าวไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันจะเป็นผู้ต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้เมื่อทำสัญญายกเว้นสิทธิตามมาตรา 688, 689 และ 690 ทั้งสามมาตรา คดีนี้จำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันว่ายอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ คงมีแต่เพียงสัญญาข้อ 2 และข้อ 5 ที่ตกลงยกเว้นสิทธิตามมาตรา 688 และไม่อาจตีความว่าเป็นข้อตกลงยกเว้นสิทธิตามมาตรา 689 และ 690 ด้วย เพราะจะเป็นการตีความในทางที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น อันเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 11 หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นสัญญาค้ำประกันที่เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกันได้โดยไม่ต้องเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนเท่านั้น ไม่ใช่สัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้
*****************************************
7. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง เป็นเพียงผู้เช่าซื้อก็เป็นผู้เสียหายได้
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อสัญญาห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่นก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เสียหายซึ่งจะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายแจ้งให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อทราบแล้วว่าจะทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อเป็นจำเลย เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายโดยตรง โดยผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วย อีกทั้งขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะผู้เช่าซื้อ จึงเป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
*****************************************
8. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง คดีขายอายุความแล้ว ฟ้องอะไรอีกได้บ้าง
จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าสิทธิเรียกร้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว เนื่องจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัท ศ. ผู้ให้เช่าซื้อเดิมเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2538 แต่โจทก์ฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลา 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ คดีมีประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความนับจากวันทำสัญญาหรือไม่เท่านั้น อีกทั้งไม่มีประเด็นอายุความอันเกี่ยวด้วยการเลิกสัญญาเนื่องจากจำเลยทั้งสองมิได้ให้การในประเด็นดังกล่าวไว้ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเมื่อนับจากวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดี คดีโจทก์ขาดอายุความนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการขายรถยนต์แล้วยังขาดราคาค่าเช่าซื้ออยู่และค่าขาดประโยชน์นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้เป็นผลมาจากการเลิกสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งเมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงผู้ให้เช่าซื้อย่อมอาจบังคับให้ผู้เช่าซื้อชดใช้ค่าขาดประโยชน์และราคารถยนต์ส่วนที่ขาดได้นับแต่วันดังกล่าวตามมาตรา 193/12 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ มิใช่สิทธิเรียกร้องของผู้ให้เช่าซื้อมีอายุความสิบปีนับแต่วันทำสัญญา ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวของผู้ให้เช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาภายใน 30 วัน และมีการบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกันเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันดังฟ้องของโจทก์ การที่ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนการบอกกล่าวทวงถามและการบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดราคาซึ่งเป็นค่าเสียหายที่โจทก์อาจเรียกร้องได้ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่เมื่อต่อมาบริษัท ศ. ติดตามรถยนต์กลับคืนมาเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2539 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้าน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย คู่กรณีแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และการที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาโดยไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อนั้น จำเลยที่ 1 จำต้องใช้เงินเป็นค่าใช้ทรัพย์ให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 391 วรรคสาม พร้อมดอกเบี้ย และเมื่อผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกได้แต่ค่าใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้นจึงไม่ก่อให้เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
*****************************************
9. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง มายึดรถโดยไม่บอกเลิกสัญญา ผลที่ตามมาดูคำพิพากษาฎีกานี้ครับจำเลยทำสัญญาซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีเงื่อนไข เมื่อจำเลยผิดนัดชำระเงินโจทก์ได้ใช้สิทธิตามสัญญาเข้ายึดรถคืนมาโดยมิได้มีกบอกเลิกสัญญาก่อน หลังจากนั้นโจทก์ขายรถดังกล่าวไป ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้ง ถือว่าคู่สัญญาได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว ทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรกโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนราคารถยนต์ที่รับไปแล้วแก่จำเลย และจำเลยต้องชดใช้เงินค่าใช้ทรัพย์นั้นแก่โจทก์ด้วยโดยถือเป็นค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถตามฟ้อง แต่ถือได้ว่าราคารถยนต์ที่โจทก์ได้รับไปแล้วเป็นค่าใช้ทรัพย์ส่วนหนึ่งแล้ว
*****************************************
10. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนาบเล่าเรื่อง คืนรถไปแล้วฟ้องเรียกค่าเสียหายภายใน 6 เดือน
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ ป.พ.พ. มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ในราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะทราบได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
*****************************************
2.คำพิพากษาฎีกาคดีที่ดิน
1. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง ฟ้องอะไร ขอท้ายฟ้องอะไรก็ต้องไม่เกินคำขอและต้องบังคับได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดที่ดิน จำเลยเก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้ โจทก์ขอโฉนดที่ดินคืน จำเลยไม่ยอมคืนขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งจากข้อความที่ระบุในโฉนดที่ดินได้ความว่า ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ไว้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินนั้น ส่วนที่จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกโฉนดที่ดินคืนโดยไม่ได้ขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดิน และจำเลยก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินตามโฉนดที่ดินนั้นคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของบิดาของโจทก์จำเลยตกได้แก่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นดังคำให้การของจำเลยหรือไม่ และแม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นดังคำให้การของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิยึดถือเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ เพราะข้ออ้างดังกล่าวเป็นเพียงเหตุที่ทำให้คู่ความอาจไปใช้สิทธิดำเนินการเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า หากจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาลหรือถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืน ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินเดิม แล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่แทนให้โจทก์โดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลยนั้น โจทก์จะขอให้บังคับคดีดังกล่าวไม่ได้เพราะเป็นการขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี
*****************************************
2. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง วิธีแบ่งทรัพย์ตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยทั้งสาม และขอให้ศาลบังคับเพื่อให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตาม ป.พ.พ. มาตรา1364 เป็นการบรรยายฟ้องถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนของโจทก์ และขอให้ศาลบังคับแบ่งแยกทรัพย์มรดกของ อ. ที่โจทก์และบรรดาทายาทของ อ.ได้รับมาโดยต่างครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว ส่วนที่เหลือขอให้แบ่งตามมาตรา 1364 ซึ่งกำหนดวิธีการแบ่งเอาไว้ ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดี และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับวิธีการแบ่ง คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกและเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงแบ่งการครอบครองทรัพย์พิพาทเป็นส่วนสัดและทรัพย์สินที่เหลือก็ขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์เป็นเด็ดขาด โจทก์ได้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 แล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งในข้อนี้จำเลยที่ 1 ก็ให้การว่า ได้แบ่งแยกทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนเป็นส่วนสัดแล้วและการแบ่งแยกทรัพย์สินตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 พร้อมจะแบ่งแยกแต่โจทก์ไม่ยอมส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงได้ฟ้องโจทก์ไว้แล้ว กรณีเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยไม่ยอมแบ่งทรัพย์พิพาทตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามข้อเท็จจริงโจทก์และจำเลยทั้งสามยอมรับว่า โจทก์ ป.,ด. และจำเลยที่ 3 ได้ตกลงแบ่งกันครอบครองตึกแถวในที่ดินพิพาทแล้ว บรรดาตึกแถวที่แบ่งกันครอบครองต่างทำสัญญาเช่าและเก็บค่าเช่ากันเองเป็นเวลานับ10 ปีแล้ว ดังนี้ ตึกแถวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ สำหรับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของตึกแถวดังกล่าว แม้ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์จะระบุว่าเป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์เฉพาะตึกแถวไม่รวมถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่โจทก์และจำเลยทั้งสามก็ไม่ขัดข้องจะแบ่งที่ดินอันเป็นที่ตั้งของตึกแถว ซึ่งน่าจะรวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วยเพราะถือเป็นบริเวณที่ดินส่วนหนึ่งของตึกแถว ที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยให้รวมถึงที่ดินอันเป็นทางเท้าด้านหน้าและด้านหลังของตึกแถวด้วย จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก
วิธีการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมนั้นกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 คือให้กระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกัน ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าการแบ่งไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ศาลจะสั่งให้ขาย โดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทบางรายการกันเองระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้ขายทอดตลาดชอบด้วยมาตรา 1364 แล้ว
*****************************************
3. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง ข้อความในเอกสารถือเป็นสาระสำคัญ คู่สัญญาต้องปฎิบัติตาม เมื่อไม่มีกำหนดเวลาการโอนกันไว้ชัดเจน ก็ต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อไม่ปฎิบติตามก็บอกเลิกสัญญาให้กลับสู่สถานะเดิมได้
ฎีกาที่ 2569/2556
การที่โจทก์จองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์จากจำเลย 2 แปลง คือแปลงหมายเลข 1314 และ 1315 โดยวางเงินจองไว้แปลงละ 100,000 บาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 แม้ตามใบจองซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จะมีข้อความว่าให้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน และโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำก็ตาม แต่ใบจองดังกล่าวระบุราคาขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ไว้ และระบุว่าวางเงินจองจำนวน 100,000 บาท กับระบุค่าโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยเป็นผู้ชำระ ซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์กันต่อไป กรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วนเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์กับจำเลย ดังนั้น ใบจองซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ทั้งสองแปลงจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อหนี้ที่ต่างต้องชำระมิได้กำหนดเวลาไว้แน่นอน ต่างฝ่ายย่อมเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ได้โดยพลัน โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควร บอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ประกอบมาตรา 369 การที่จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1314 โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระหนี้ แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยมีสิทธิรับเงินมัดจำ จำนวน 100,000 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแปลงหมายเลข 1315 จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยมิได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนจึงไม่ชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างบอกเลิกสัญญาต่อกัน แม้ไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาตามพฤติการณ์ แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 จึงไม่มีผลผูกพันกันต่อไป กรณีไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิรับเงินมัดจำจำนวน 100,000 บาท
สำหรับเงินค่าทำสัญญาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์สองแปลง เป็นเงินแปลงละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 200,000 บาท นั้น ไม่ใช่มัดจำ แต่เป็นการชำระราคาค่าที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์บางส่วน เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนเงินที่จะต้องใช้คืนแก่กันให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์แปลงหมายเลข 1315 และราคาที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ทั้งสองแปลงบางส่วนดังกล่าวที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 2 เมษายน 2545 อันเป็นวันที่รับไว้เป็นต้นไป
*****************************************
4. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง ครอบครองปรปักษ์
ฎีกาที่ 1702/2559
เดิม ห. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องผู้คัดค้านเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ห. โดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำให้การและฟ้องแย้งให้ขับไล่ ห. ออกจากที่พิพาท ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.251/2554 ให้ ห. และบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาท ในชั้นบังคับคดี ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา โดยอ้างว่าครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทประมาณ 30 ไร่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้ โดยอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประมาณ 30 ไร่ โดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันกับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษที่ผู้ร้องได้ยื่นไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.251/2554 คำร้องขอของผู้ร้องในคดีนี้จึงเป็นการร้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และมาตรา 247 เมื่อคำร้องขอของผู้ร้องเป็นร้องซ้อนต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีคำร้องขอและตัวผู้ร้องที่ผู้คัดค้านจะฟ้องแย้ง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องเช่นกัน
*****************************************
5. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง ยกที่ดินให้เป็นสาธารณะแม้ไม่จดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินก็สมบูรณ์แล้ว
ฎีกาที่ 4377/2549
ช. ยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้ว แม้จะระบุว่า ช. จะมาจดทะเบียนให้เสร็จภายใน 3 วัน แต่เป็นการยกให้เป็นทางสาธารณะจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทันทีที่ ช. ได้แสดงเจตนาโดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 อีก ทั้งการยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะไม่ต้องมีนายอำเภอหรือนายกเทศมนตรีในท้องที่แสดงเจตนารับ
ทางพิพาทติดจำนองอยู่โดยสัญญาจำนองระบุว่า ผู้จำนองจะให้สิทธิหรือทรัพยสิทธิไม่ว่าด้วยประการใด ๆ แก่ผู้อื่นในทรัพย์สินที่จำนอง เป็นที่เสื่อมเสียต่อสิทธิของผู้จำนองเองในทรัพย์สินที่จำนอง ผู้จำนองต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับจำนองเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้จำนองกับผู้รับจำนอง ทั้งในหนังสือสัญญาจำนองก็ระบุไว้ว่า ถ้าผู้จำนองประพฤติผิดหรือไม่ประพฤติตามสัญญาที่กำหนดไว้ข้อหนึ่งข้อใดหรือทั้งหมด ผู้รับจำนองมีสิทธิจะเรียกให้ผู้จำนองชำระหนี้และบังคับจำนองได้ทันทีเท่านั้น การที่ธนาคารผู้รับจำนองมิได้ให้ความยินยอมจึงไม่มีผลบังคับให้การยกทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเสียเปล่า
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาว่า เข้าไปยึดครอบครองและก่อสร้างในที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยไม่มีสิทธิ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด แต่ศาลวินิจฉัยแต่เพียงว่า กรณียังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้ผู้อื่นนำดินไปถมในทางพิพาทโดยเชื่อว่ามีสิทธิทำได้ในฐานะเจ้าของที่ดินนั้น จึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำความผิดตามฟ้อง คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่วินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ คดีนี้จึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
*****************************************
6. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง ภาระจำยอม ทางจำยอม ทางจำเป็น ทำได้มากน้อยเพียงใด
ฎีกาที่ 4508/2544
ตามคำพิพากษาศาลฎีกาคงวินิจฉัยเพียงว่า เมื่อทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้วโจทก์มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้ โดยอำนาจของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 หมายความว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทได้แต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของบทกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งตามวรรคสามของมาตรา 1349 ที่บัญญัติว่า "ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้ พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยสุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ด้วย"
ทางพิพาทเป็นถนนในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลย กว้าง 6 เมตร พื้นถนนรับน้ำหนักได้สำหรับรถส่วนบุคคลหรือรถปิกอัพน้ำหนักไม่เกิน 10 ตัน น้ำหนักที่บรรทุก 10 ตัน ใช้ได้เฉพาะรถบรรทุกหกล้อ ไม่สามารถให้รถบรรทุกสิบล้อซึ่งจะบรรทุกน้ำหนักประมาณ 20 ตัน ขึ้นไปผ่านได้ หากให้รถบรรทุกสิบล้อผ่านจะเกิดความเสียหายแก่พื้นถนนและรั้วบริเวณที่รถผ่านจะแตกร้าวได้ ทั้งจะทำให้ประชาชนในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลยถูกรบกวนการอยู่อาศัยตามปกติ จำเลยจึงสร้างคานเหล็กซึ่งมีความสูงจากพื้นผิวถนน 2.50 เมตร ปิดกั้นทางพิพาทมิให้รถบรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเข้าออกในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลย ซึ่งโจทก์สามารถใช้ทางพิพาทโดยไม่ให้เกิดความเสียหายหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางพิพาทน้อยที่สุดได้ โดยใช้รถบรรทุกหกล้อบรรทุกดินผ่านเข้าออกทางพิพาทเพื่อให้เหมาะสมแก่ทางพิพาท ซึ่งรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่เกิน 10 ตัน ทั้งยังไม่เป็นการรบกวนการอยู่อาศัยโดยปกติของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ทางพิพาทผ่านด้วย จึงยังไม่สมควรให้จำเลยเปิดเหล็กกั้นทางพิพาทอันเป็นทางจำเป็น
เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้บังคับคดีเป็นไปตามคำร้องของโจทก์แล้ว ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์เสีย แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่ง ศาลฎีกาเห็นพ้องสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
*****************************************
7. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง ครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายต้องดำเนินการจดทะเบียนให้ครบถ้วน
ฎีกาที่ 6445/2562
จำเลยที่ 4 ได้รับการยกให้จากบิดา จากนั้นเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและแบ่งปันที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตร ผู้ร้องเข้าครอบครองทำประโยชน์ต่อมาด้วยความสงบ เปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก่อนโจทก์ยึดที่ดินพิพาท เป็นการอ้างว่า ผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่เมื่อสิทธิของผู้ร้องยังมิได้จดทะเบียน ย่อมต้องห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
ผู้ร้องไม่ได้นำสืบว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับจำนองไว้โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือไม่สุจริตแต่ประการใด จึงต้องฟังว่าโจทก์รับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ย่อมอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ผู้ร้องไม่อาจอ้างการได้มาซึ่งการครอบครองปรปักษ์ขึ้นยันกับโจทก์ได้ และผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท
*****************************************
8. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง การใช้สิทธิตามกฎหมายต้องสุจริต
ฎีกาที่ 588/2562
คดีนี้พฤติการณ์ของผู้ร้องและโจทก์มีพิรุธน่าสงสัย เชื่อว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นในการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1440/2548 ของศาลจังหวัดจันทบุรี และบังคับคดียึดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ข.) เลขที่ 611 ของจำเลยออกขายทอดตลาดโดยให้ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อและบังคับขับไล่ผู้คัดค้านออกจากที่ดิน ทั้งที่โจทก์ทราบดีว่าผู้คัดค้านปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยบนที่ดินพิพาทและมีรั้วกำแพงล้อมรอบมานาน 20 ปีเศษแล้ว ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ข.) เลขที่ 611 จากจำเลยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2545 ในราคา 800,000 บาท ได้ชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว โดยจำเลยได้มอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ร้องแล้วตั้งแต่ปี 2546 หากจำเลยไม่จดทะเบียนโอนสิทธิการครอบครองที่ดินให้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่ผู้ร้องมิได้ใช้สิทธิฟ้อง กลับมาประมูลซื้อที่ดินของจำเลยจากการขายทอดตลาดซึ่งต้องใช้เงินเพิ่มอีก 3,100,000 บาท อันมิใช่วิสัยของบุคคลทั่วไป ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ผู้ร้องซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเพื่อให้ออกคำบังคับผู้คัดค้านและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี (เดิม)
*****************************************
9. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง ได้รับสำเนาคำฟ้องต้องยื่นคำให้การภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดในหมายเรียกครับ
ฎีกาที่ 6653/2561
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งสำเนาคำร้องขอแก่ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน และประกาศคำร้องขอทางหนังสือพิมพ์รายวันแล้ว ไม่มีผู้ใดยื่นคำคัดค้าน จึงเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 เมื่อศาลชั้นต้นได้ดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ การดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้อง และคำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ก็ตาม แต่คดีนี้คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดไปแล้วและข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้คัดค้านไม่ปรากฏว่าผู้ร้องโต้แย้งสิทธิอย่างใดแก่ผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ผู้คัดค้านเพียงแต่อ้างว่ามีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้องและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น มิได้ขอให้มีคำสั่งแสดงว่าผู้คัดค้านมีสิทธิเหนือที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้
*****************************************
10. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง คำสั่งของเจ้าพนักงานต้องปฎิบัติ เพราะถือเป็นคำสั่งทางปกครอง ถ้าไม่อยากไม่อยากปฎิบัติตามก็ต้องใช้สิทธิทางศาลครับ
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า ให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนไกล่เกลี่ยเพื่อให้การรังวัดสอบเขตและการออกโฉนดตามแนวเขตที่รังวัดใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปสามารถดำเนินการต่อไปได้เพื่อประโยชน์แก่คู่กรณีที่จะได้ทราบแนวเขตที่แท้จริงตามที่ตกลงกัน และถ้าไกล่เกลี่ยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ก็แจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องภายใน 90 วัน ถ้าไม่มีการนำคดีไปฟ้องภายในกำหนดดังกล่าวเพียงถือว่าผู้ขอสอบเขตโฉนดที่ดินไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการตามคำขออีกต่อไป และทำให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจที่จะไม่รังวัดสอบเขตที่ดินต่อไปได้โดยไม่มีความผิดเท่านั้น หาใช่เป็นบทกำหนดวิธีการและขั้นตอนให้ผู้ยื่นคำขอรังวัดต้องปฏิบัติก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ไม่ และไม่มีผลทำให้การถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามความจริงไม่เกิดขึ้นหรือหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยถอยร่นแนวเขตที่ดินของจำเลยออกไปจากที่ดินโจทก์และห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องนั้น ถือได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินโจทก์ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยรับของแนวเขตที่ดินโจทก์ได้
*****************************************
11. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง สร้างบ้านหรือทำอะไรไว้ ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ดีกว่า วันหน้าจะได้ไม่ทะเลาะกัน
จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินของ ล. เจ้าของที่ดินโดยสุจริต บ้านดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย หลังจาก ล. ถึงแก่ความตายมีการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวปรากฏว่าบ้านของจำเลยอยู่ในที่ดินที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย แต่โครงหลังคาบ้านซึ่งติดอยู่กับบ้านเป็นส่วนหนึ่งของบ้านล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ อันเป็นกรณีที่เทียบเคียงได้กับการปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือได้ว่า ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคแรก เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง เมื่อกรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีและไม่ปรากฏว่ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง เมื่อใช้มาตรา 1312 วรรคแรก ประกอบมาตรา 4 วรรคสอง มาปรับแก่คดีแล้ว ที่ดินของโจทก์ส่วนที่โครงหลังคาบ้านของจำเลยรุกล้ำเข้าไปจึงเป็นภาระจำยอมที่ต้องไปจดทะเบียนสิทธิดังกล่าวตามบทบังคับของมาตรา 1312 วรรคแรก
แม้คำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์มิได้ให้การปฏิเสธฟ้องแย้งของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ถนนคอนกรีตกว้าง 6.50 เมตร ยาว 76 เมตร ในที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นถนนดังกล่าวข้างต้นเป็นทางจำเป็น แต่ศาลมีอำนาจกำหนดที่และวิธีทำทางผ่านของทางจำเป็นให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน โดยคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความกว้างของทางจำเป็นในคดีนี้จึงยังไม่ยุติไปตามคำคู่ความดังกล่าว
ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายและเป็นทรัพยสิทธิอันมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ที่สามารถใช้ยันบุคคลทั่วไปได้อยู่แล้ว จึงไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.พ.พ. มาตรา 1349 และมาตรา 1350 บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นและเจ้าของที่ดินที่ล้อมไว้แล้วเมื่อมีคำพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทางจำเป็นของบุคคลดังกล่าวย่อมเป็นไปตามกฎหมาย ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องชี้ขาดตัดสินกำหนดห้ามการใช้ทางจำเป็นเพื่อการใดไว้ล่วงหน้าในคำพิพากษา ทั้งตามฟ้องโจทก์คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และคำให้การแก้ฟ้องแย้งในคดีนี้ คู่ความมิได้โต้แย้งกันว่า จำเลยมีสิทธิใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ และฟ้องกับฟ้องแย้งดังกล่าวก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องห้ามจำเลยใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ทางพิพาทตามปกติมิใช่เพื่อการค้า จึงไม่จำเป็นแก่คดีและเกินคำขอของคู่ความ อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
*****************************************
12. มีคดีที่ศาลใหน ปรึกษาทนายใกล้ศาลนั้น 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้ศาลได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้ศาล.com
ทนายเล่าเรื่อง สัญญาต้องเป็นสัญญา คำมั่นที่ให้ไว้ในสัญญาต้องปฎิบัติตามครับ
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าที่ดินที่ว่า "ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าจะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม" นั้น เป็นคำมั่นของผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดโจทก์ผู้เช่าได้แจ้งความประสงค์ในการที่จะเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี ให้แก่จำเลยผู้ให้เช่าทราบ และจำเลยได้รับแจ้งแล้วจึงต้องผูกพันตามคำมั่นของตน โดยต้องทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี
*****************************************
3.คำพิพากษาฎีาคดีมรดก
1. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทยานเล่าเรื่อง เรื่องนี้เกี่ยวกับผู้ที่ทำนิติกรรมอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถทำนิตกรรมได้ถ้าผู้ปกครองมีส่วนร่วม
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก
************************
2. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง กฎหมายเขียนไว้ว่า ถ้าเป็นผู้รับผลประโยชน์ในพินันกรรม ไม่ให้ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม แต่ลงชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่เกี่ยวกันครับ สาทารถทำได้
จำเลยลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือของผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ลงชื่อเป็นพยานรับรองพินัยกรรม ไม่มีผลให้ข้อกำหนดพินัยกรรมยกที่ดินแก่จำเลยเป็นโมฆะ จำเลยมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม
******************
3. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง ตายพร้อมกัน มรดกจะแบ่งอย่างไร ตกกับใครบ้าง
ธ. ซึ่งเป็นบุตรของ ก. และ ก. ตายพร้อมกัน ต่างไม่เป็นทายาทที่จะรับมรดกของกันและกัน เพราะในขณะที่บุคคลหนึ่งถึงแก่ความตายอีกบุคคลหนึ่งไม่มีสภาพบุคคลที่มีความสามารถที่จะมีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 15 และมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง และกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1639 เนื่องจาก ธ. ทายาทไม่ได้ตายก่อน ก. เจ้ามรดกอันจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ธ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ธ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกของ ก. ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
**********************
4. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ เบียดบังเอาทรัพย์มรดกไปมีสิทธิรับมรดกต่อไปหรือไม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศ.เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ผู้คัดค้านทั้งสามร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ. เนื่องจากคำร้องของผู้ร้องที่ขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคำร้องขอเป็นผู้อนุบาลของ ศ.เป็นความเท็จ และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตปิดบังข้อเท็จจริง และปิดบังพินัยกรรมของบิดาผู้ร้องที่ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของนางสาวศรีสกุล ทั้งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ.อยู่ก่อนที่ผู้ร้องจะขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ประกอบกับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ได้ขอถอนการเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1598/8 เนื่องจากมาตรา 28 วรรคสอง บัญญัติให้การแต่งตั้งผู้อนุบาลอำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล และการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.นี้และมาตรา 1598/18 วรรคสอง บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาลให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น การแต่งตั้งผู้อนุบาลจึงต้องอนุโลมตามการแต่งตั้งผู้ปกครองด้วย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล เป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อนุบาลตามมาตรา 1587 อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล โดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลนั้นเสียอันเป็นกรณีร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมตามมาตรา1588 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่ยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จะยื่นคำคัดค้านแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีที่ขอถอนผู้อนุบาลตามมาตรา 1598/8ผู้คัดค้านจึงยื่นคำคัดค้านได้
ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามมีข้อพิพาทกันอยู่แล้ว แต่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ ศ.โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์โดยไม่ชอบนั้น ผู้ร้องยอมรับอยู่ว่า คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 ตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ครั้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเพราะยื่นล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และมีคำสั่งไปตามรูปคดี ต่อมาศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และในวันที่ 29 มกราคม 2539มีคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ร้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 14 มกราคม 2540 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของผู้ร้องและคดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ ก็เพื่อให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลนางสาวศรีสกุลจึงไม่ใช่กรณีร้องซ้อน
ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุแห่งการคัดค้านหลายประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยว่ามีเหตุควรเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ.หรือไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
**************************
5. มีคดีที่ศาลใหน ให้ทนายในเครือข่ายของเราช่วยท่าน ปรึกษาทนายความของเราได้ที่ 099 464 4445 ค้นหาทนายในเครือข่ายของเราได้ที่เวปไซต์นี้ www.เครือข่ายทนายความ.com
ทนายเล่าเรื่อง เงินที่ได้จากประกันชีวิตไม่ใช่ทรัพย์มรดก เพราะเป็นทรัพย์ที่เกิดขึ้นหลังการตาย เงินดังกล่าวตกเป็นของใครไปดูฎีกานี้ครับ
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทประกันชีวิต โดยระบุภริยาเป็นผู้รับประโยชน์ ปรากฎว่าภริยาผู้ตายถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย บริษัทประกันชีวิตสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินระบุชื่อภริยาผู้ตายเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ เงินตามสัญญาประกันชีวิตมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตาย ส่วนภริยาผู้ตายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับเงินตามสัญญาประกันชีวิต สิทธิของภริยาผู้ตายที่จะได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยยังไม่เกิดขึ้น เงินตามตั๋วแลกเงินจึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของภริยาผู้ตาย
แม้เงินตามตั๋วแลกเงินจะมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับแก่เงินตามสัญญาประกันชีวิต เงินตามตั๋วแลกเงินจึงควรตกแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก
*************************
6. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท
ฎีกาที่ 478/2539
โจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่154/2527 ของศาลชั้นต้น ดังนั้นโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่าที่ดินส่วนของ บ.ในโฉนดเลขที่ 2505 ดังกล่าวเป็นมรดกของ บ. จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2)
ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ บ. โดย บ.มีบุตร 4 คน คือโจทก์ทั้งสองจำเลย และ จ. แต่ จ.ถึงแก่ความตายก่อน บ. โดย จ.มีบุตร 3 คน บ.ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงมีสิทธิได้ส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ บ.เพียงหนึ่งในสี่ส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ บ.ทั้งหมดโดยการครอบครอง ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาถึง 10 ปีก่อนจำเลยยื่นคำร้องขอเช่นนั้น แล้วจำเลยนำพยานหลักฐานมาไต่สวนในคดีดังกล่าวจนศาลชั้นต้นหลงเชื่อและมีคำสั่งว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของบ.ในโฉนดเลขที่ 2505 โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แล้วจำเลยนำคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น จำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลยตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 154/2527 ของศาลชั้นต้น ยืนยันว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบ.โดยสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีโดยเจตนาให้หลานและทายาทอื่นของ บ.ไม่ได้รับมรดกด้วย โจทก์ที่ 1ย่อมต้องได้รับผลในลักษณะคดีในฐานพยานเท็จ ไม่ได้รับมรดกที่ดินในกรณีพิพาทนี้ด้วยนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามไม่ให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่งเช่นกัน
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1639 บัญญัติให้ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกรับมรดกแทนที่ทายาทนั้นได้ในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้นก็ตาม แต่มาตรา 1607 บัญญัติว่า การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว โดยมิได้บัญญัติว่า ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกสืบมรดกต่อไปได้เฉพาะในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของ บ.เจ้ามรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้และต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของ บ.เลย อันเป็นการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายก็ตาม บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของจำเลยทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนายบุญช่วยย่อมสืบมรดกของ บ.ต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1607 และบทบัญญัติมาตรา 1607 หาได้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 1639 ไม่
****************************
7. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง การรับมรดกแทนที่ทายาทที่ดสียชีวิตก่อนเจ้ามรดกทำได้
ฎีกาที่ 1584/2546
โจทก์เป็นบุตรของ พ. ซึ่งเป็นพี่สาวของผู้ตาย เมื่อขณะผู้ตายถึงแก่ความตายผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตร ทั้งบิดามารดาก็ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว มรดกของผู้ตายจึงตกทอดแก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ซึ่งรวมทั้ง พ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3) เมื่อ พ. ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและผู้สืบสันดานของ พ. ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ พ. โจทก์จึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเฉพาะส่วนแบ่งของ พ. ตามมาตรา 1639
การต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 นั้นคดีก่อนจะต้องได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้องซึ่งตามมาตรา 176 อาจยื่นใหม่ได้ ทั้งคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทรัพย์มรดกของผู้ตายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามมาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้ให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 บัญญัติไว้
************************
8. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง มรดก
ฎีกาที่ 2711/2562
แม้โจทก์และจำเลยทั้งสองจะไม่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกทั้งสามแปลง แต่ที่จำเลยทั้งสองคัดค้านมิให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก ทั้งมิได้ขอเป็นผู้จัดการมรดก ทำให้ไม่มีผู้มีหน้าที่ทำการแบ่งปันที่พิพาทดังกล่าว นอกจากนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363 ยังให้สิทธิแก่ทายาทที่เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ ทั้งจำเลยทั้งสองปฏิเสธว่ามีที่ดินเพียงสองแปลงที่เป็นที่ดินมรดก ส่วนที่ดินอีกแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของจำเลยที่ 2 มิใช่ทรัพย์มรดก ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ชอบที่โจทก์จะใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินทั้งสามแปลงแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินรวมสามแปลงเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินทั้งสามแปลงเป็นทรัพย์มรดก การแบ่งปันมรดกต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองแบ่งปันที่ดินแปลงเดียวแก่โจทก์หนึ่งในสามส่วนเป็นการไม่ชอบ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเอง
******************************
4.คำพิพากษาคดีครอบครัว
1. มีปัญหาคดีครอบครัว ปรึกษาทนายจอย 099 152 4195
ทนายเล่าเรื่อง สินส่วนตัว ฟ้องขับไล่
โจทก์ใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านเล็กๆ มีแต่หลังคาแต่ไม่มีฝาบ้านมาในระหว่างสมรส และใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ในการก่อสร้างบ้าน โรงจอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำในที่ดินพิพาทของโจทก์ แม้เป็นการก่อสร้างในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก็จะถือว่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสหาได้ไม่ บ้านพิพาทย่อมเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายได้
******************
2. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง ข่มขืนศพไม่ผิด แต่ข่มขืนบุคคลอื่นมีความผิดตามกฎหมายครับ
คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนที่รับสารภาพว่าเป็นผู้ฆ่าและข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ใช้ยันจำเลยเพื่อพิสูจน์การกระทำผิดของจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134
จำเลยให้การรับสารภาพแล้วยังนำพนักงานสอบสวนไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและให้ถ่ายรูปไว้ด้วย โดยจำเลยมิได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น และจากการตรวจกางเกงชั้นในของจำเลยที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาจากจำเลยที่นุ่งอยู่ในวันถูกจับกุมส่งไปตรวจหารหัสพันธุ์กรรม(ดีเอ็นเอ)ได้ความว่าได้รหัสพันธุ์กรรมตรงกับคราบเลือดของผู้ตาย น่าเชื่อว่าคราบเลือดที่ติดอยู่กับกางเกงชั้นในของจำเลยเป็นของผู้ตาย พฤติการณ์ตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยมีน้ำหนักพอที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งแล้ว
เมื่อผู้ตายได้ตายไปแล้วแต่จำเลยคิดว่าผู้ตายสลบไป จึงข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย เพราะผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15
******************
3. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาแบ่งกันอย่างไร
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
**********************
4. มีปัญหาปรึกษาเรื่องครอบครัว ปรึกษาทนายคดีครอบครัว
ทนายจอย 099 152 4195 ค้นหาทนายคดีครอบครัวได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายคดีครอบครัว.com
ทนายเล่าเรื่อง ฆ่าผู้อื่นผิดกฎหมาย มีโทษแต่ฆ่าชายชู้ ผิดกฎหมาย แต่กฎหมายไม่เอาโทษ
ชายพบภริยาของตนกำลังร่วมประเวณีทำชู้กับชายอื่นจึงฆ่าภริยาและชายชู้ตายทั้งสองคนนั้นทันทีเช่นนี้ ถือว่าเป็นการป้องกันเกียรติยศและชื่อเสียง พอสมควรแก่เหตุ ไม่มีโทษ
*****************************
5. มีปัญหาปรึกษาเรื่องครอบครัว ปรึกษาทนายคดีครอบครัว ทนายจอย 099 152 4195 ค้นหาทนายคดีครอบครัวได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายคดีครอบครัว.com
ทนายเล่าเรื่อง ส่งมอบบุตร
ในระหว่างพิจารณา ศาลสั่งยกคำร้องในเรื่องข้อตัดฟ้องของจำเลย ๆแถลงว่า ยังติดใจคัดค้านและขอสงวนสิทธิเพื่ออุทธรณ์ แล้วจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาล ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแถลงว่าพอใจคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลแล้วจึงขอค่าธรรมเนียมคืน ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยพอใจในการสั่งของศาล ไม่ใช่พอใจที่จะไม่อุทธรณ์ เมื่อศาลพิพากษาคดีแล้ว จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นได้ เพราะจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งไว้ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 226(2) แล้ว
เมื่อความปรากฎว่าจำเลยเป็นผู้เยาว์ ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 1(12) กรณีก็ต้องตามมาตรา 56 การที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้อนุญาตหรือยินยอมแต่ผู้เยาว์ ที่จะดำเนินคดีหรือไม่เป็นอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลไม่มีอำนาจบังคับผู้แทนโดยชอบธรรมให้ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์
การหมายเรียกตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 57(3) เป็นการหมายเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการดำเนินคดี หรือไม่เข้าดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ตามที่ควรศาลจะตั้งผู้แทนฉะเพาะคดีให้ตามมาตรา 56 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ไม่ได้ เพราะเป็นบทบัญญัติฉะเพาะแต่ในกรณีไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ แต่ถ้าในกรณีที่บิดาเป็นผู้ปกครองและไม่ยอมให้คำยินยอมเช่นนี้ ผู้เยาว์อาจขอต่อศาลให้รอคดีไว้หรือศาลสั่งรอไว้เองก็ได้ โดยให้ผู้เยาว์ไปหาญาติสนิท ดำเนินการตามมาตรา 1552 ป.ม.แพ่ง ฯ ถอนอำนาจบิดาในส่วนนี้ฐานใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบเสียก่อนได้
ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 56 ไม่ได้ห้ามไม่ให้ฟ้องผู้เยาว์ เป็นแต่ว่าถ้าถูกฟ้อง ผู้เยาว์จะดำเนินคดีไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรม เข้าดำเนินคดีแทนเสียทีเดียว ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ ก็ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จะบังคับโจทก์ไม่ได้ ศาลจึงชอบที่จะคอยระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ให้ตามสมควร เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เยาว์ศาลอาจจะแจ้งไปยังพนักงานอัยยการเพื่อพิจารณาและดำเนินการตามมาตรา 1552 นี้ก็ได้เมื่อมีการถอนอำนาจแล้ว ก็เป็นหน้าที่ที่จะใช้มาตรา 56 วรรคท้ายได้ แต่ศาลจะหมายเรียกผู้แทนโดยชอบธรรม ให้เข้ามาแก้คดีแทนผู้เยาว์นั้นหามีกฎหมายสนับสนุนไม่
การบังคับคดีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้น การที่ขอให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลา ก็หมายความว่าไม่ให้ถือเอาการอุทธรณ์เป็นการทุเลาการบังคับ แม้จะมีการอุทธรณ์ ก็ให้ศาลล่างดำเนินการบังคับคดีต่อไป ตามอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องการบังคับคดี ไม่ใช่ว่าถ้าศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลาแล้ว ก็เป็นการบังคับศาลชั้นต้นให้บังคับคดีโดยตัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องบังคับคดีเสียเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรสาวโจทก์อายุ 18 ปี ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาบุตรสาวโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดีเสียแม้กรณีไม่ต้องด้วย ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 132 ศาลฎีกาก็ยังจำหน่ายคดีได้
ถ้าหากไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะชี้ขาดแล้วเช่นคดีนี้ แต่คดีนี้ศาลล่างดำเนินการพิจารณามาสับสน จะเพียงแต่จำหน่ายคดี โดยให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คงไว้ หาชอบไม่ ทั้งจะให้ศาลล่างพิจารณาใหม่ก็ไม่ได้ เพราะบุตรสาวโจทก์ที่ฟ้องเรียกคืนบรรลุนิติภาวะแล้ว เช่นนี้ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง และให้จำหน่ายคดีเสีย.
*********************
6. มีปัญหาปรึกษาเรื่องครอบครัว ปรึกษาทนายคดีครอบครัว ทนายจอย 099 152 4195 ค้นหาทนายคดีครอบครัวได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายคดีครอบครัว.com
ทนนยเล่าเรื่อง ผู้เยาว์ทำนิติกรรมอะไรก็ไม่ได้ ยกเว้นได้รับความยินยอมหรือศาลสั่งครับ แต่การที่พ่อลงชื่อเป็นพยานเพียงพอกับการแสดงความยินยอมหรือไม่ไปดูฎีกานี้ครับ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ได้บัญญัติไว้เฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ผู้เยาว์เป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเอง บิดาโจทก์เพียงแต่ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเท่านั้นดังนี้ จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ผู้เยาว์ทำขึ้น มี บ.ผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในเอกสารนั้น ย่อมถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21 ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ทั้งได้แสดงความยินยอมเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและพยานซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองอีกด้วยเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการจดทะเบียนสมรสได้กระทำไปโดยเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประการใดแล้ว ย่อมไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1
*************************
7. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง การให้บุคคลอื่นถือกรรมสิทธิ์แทนนั้นอันตราย ถ้าไม่จำเป็นก็ควรถือเองครับ
ฎีกาที่ 4096/2557
ฮ. เป็นบุคคลสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ฮ. และโจทก์ร่วมเป็นสามีภริยาตามกฎหมายของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ฮ. ซื้อห้องชุด แต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน โดยจำเลยเป็นผู้ถือกุญแจและชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า อันเป็นการกระทำแทน ฮ. ชั่วครั้งชั่วคราวตามที่ได้รับมอบหมาย กรรมสิทธิ์ที่แท้จริงยังอยู่ที่ ฮ. และโจทก์ร่วม การที่จำเลยแจ้งเท็จว่าหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดฉบับเดิมสูญหายเพื่อขอออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดใหม่ เปลี่ยนกุญแจและเข้าครอบครองห้องชุดและทรัพย์ต่าง ๆ ในห้องชุดแล้วนำไปขายแก่บุคคลอื่นโดย ฮ. และโจทก์ร่วมไม่รู้เห็นยินยอม เป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ห้องชุดของ ฮ. และโจทก์ร่วมโดยใช้อุบายแย่งการครอบครอง ต่อมาเมื่อจำเลยนำห้องชุดของโจทก์ร่วมไปขาย เงินที่ได้จากการขายห้องชุดเป็นผลสืบเนื่องจากการแย่งกรรมสิทธิ์และการครอบครองของจำเลย เพราะ ฮ. หรือโจทก์ร่วมไม่ได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ลงโทษในความผิดฐานยักยอก แต่ทางพิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง แต่เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด มิใช่แตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ เมื่อจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม แม้โจทก์และโจทก์ร่วมไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
*********************
8. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง เท่าไหร่กระทำชำเรา เท่าไหร่พยายามกระทำชำเรา
ฎีกาที่ 4164/2555
จำเลยใช้ลิ้นเลียที่อวัยวะเพศของโจทก์ร่วม ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่อวัยวะเพศของโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมมีอาการเจ็บ มีอาการอักเสบเป็นรอยแดงบริเวณแคมทั้งสองข้างรอบปากช่องคลอด สื่อให้เห็นว่า จำเลยประสงค์จะใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่อวัยวะเพศของโจทก์ร่วม มิใช่เพียงการใช้อวัยวะเพศของจำเลยถูไถเฉพาะภายนอกอวัยวะเพศของโจทก์ร่วมโดยไม่ประสงค์จะสอดใส่ การกระทำของจำเลยจึงบ่งชี้ถึงเจตนาของจำเลยที่จะข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม หาใช่มีเจตนาเพียงแค่กระทำอนาจารไม่
ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 ต้องการขยายความหมายของการกระทำชำเราว่า นอกจากหมายถึงการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำต่ออวัยวะเพศของผู้ถูกกระทำแล้ว ยังรวมถึงการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับทวารหนักหรือช่องปากของผู้ถูกกระทำด้วย เท่ากับเป็นการเพิ่มอวัยวะที่ถูกกระทำขึ้นใหม่ เพิ่มสิ่งที่ใช้ในการกระทำนอกจากจะกระทำชำเราโดยใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนักหรือช่องปากของผู้ถูกกระทำแล้ว ยังรวมถึงการใช้สิ่งอื่นใด เช่น การใช้อวัยวะเพศเทียมกระทำกับอวัยวะเพศ หรือทวารหนักของผู้ถูกกระทำด้วย เป็นกรณีที่ขยายความหมายของคำว่ากระทำชำเรา ในแง่เพิ่มสิ่งที่ใช้ในการกระทำและอวัยวะที่ถูกกระทำขึ้นใหม่เท่านั้น ส่วนกรณีอย่างไรจึงจะเป็นการกระทำชำเราสำเร็จนั้นก็คงยังคงมีความหมายอยู่ว่า จะเป็นการกระทำชำเราสำเร็จได้ต้องถึงขั้นอวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้ถูกกระทำ หรือล่วงล้ำเข้าไปในทวารหนักของผู้ถูกกระทำ หรือล่วงล้ำเข้าไปในช่องปากของผู้ถูกกระทำ หากมีการใช้สิ่งของอย่างอื่น เช่น อวัยวะเพศเทียม สิ่งของอย่างนั้นก็ต้องมีการล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศ หรือทวารหนักของผู้ถูกกระทำเช่นกัน
จำเลยมีเจตนากระทำชำเราโจทก์ร่วม จำเลยใช้อวัยวะเพศของจำเลยถูไถอวัยวะเพศของโจทก์ร่วมแต่อวัยวะเพศของจำเลยไม่อาจล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของโจทก์ร่วมได้ เพราะอวัยวะเพศของโจทก์ร่วมมีขนาดเล็ก ส่วนการใช้ลิ้นเลียอวัยวะเพศของโจทก์ร่วมก็ไม่ปรากฏว่าลิ้นได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยถือได้ว่าจำเลยลงมือกระทำชำเราแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามกระทำชำเราโจทก์ร่วม
*************************
9. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง สุนัขเป็นสินสมรส
ฎีกาที่ 2488/2523
สุนัขในบ้านจำเลยออกจากบ้านไปกัดโจทก์ ภริยาจำเลยรับว่าเป็นเจ้าของ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ต้องสันนิษฐานว่าสุนัขเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1474 จำเลยจึงเป็นเจ้าของสุนัขด้วย
สุนัขหลบหนีออกไปได้ขณะจำเลยเปิดประตู สุนัขจึงออกไปกัดโจทก์ได้แสดงว่าจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรในการเลี้ยงดูสุนัขจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์รวมทั้งทดแทนความตกใจและทุกข์ทรมานด้วย
**********************
5. คำพิพากษาฎีกาคดีกู้ยืม
1. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง เกี่ยวกับดอกเบี้ยผิดนัดถือเป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะเพิ่มหรือลดได้
ข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มในกรณีลูกหนี้ผิดนัดนั้นเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากเดิม ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 แต่ที่ศาลอุทธรณ์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปียังไม่ถูกต้อง เพราะตามสัญญามีข้อตกลงจะชำระดอกเบี้ยตามปกติโดยไม่ผิดนัดในอัตราร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปีและถ้าผิดนัดจึงจะคิดเพิ่มขึ้นจากนี้ ดังนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับเฉพาะส่วนที่เกินจากร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปี การลดลงจึงลดลงได้ต่ำสุดในอัตราร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปีจะลดลงให้ต่ำกว่านี้ไม่ได้
************************
2. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง เป็นกู้ยืมเงินหรือเช่าซื้อ
ส. และ ว. ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อและรับสร้อยคอทองคำรูปพรรณด้วยความสมัครใจ แม้ความประสงค์เดิมของ ส. และ ว. คือต้องการกู้ยืมเงิน แต่เมื่อ ส. และ ว. ยินยอมทำสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นวิธีทางการค้าของบริษัท จ. ย่อมถือว่า ส. และ ว. เปลี่ยนเจตนาเดิมที่ต้องการกู้ยืมเงินมายินยอมผูกพันตนตามสัญญาเช่าซื้อโดยสมัครใจ นอกจากนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. และ ว. ต่างนำสร้อยคอทองคำรูปพรรณไปขายได้เงินไม่เท่ากัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่ทราบล่วงหน้าว่า ส. และ ว. จะขายสร้อยคอทองคำรูปพรรณหรือไม่ หรือหากขายจะได้เงินเพียงใด พฤติการณ์จึงฟังได้เพียงว่า จำเลยทั้งสองชักจูง ส. และ ว. ทำสัญญาเช่าซื้อสร้อยคอทองคำรูปพรรณจริง เพราะหากเป็นการให้กู้ยืมย่อมต้องทราบจำนวนเงินกู้ยืมที่แน่นอนขณะทำสัญญา นอกจากนี้หากจำเลยทั้งสองต้องการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่ออำพรางการกู้เงิน ก็ย่อมสามารถมอบเงินกู้ให้ ส. และ ว. ได้ทันที โดยไม่จำต้องส่งมอบสร้อยคอทองคำรูปพรรณให้ ส. และ ว. เพื่อนำไปขายอีก พฤติการณ์แห่งคดีไม่อาจฟังว่าจำเลยทั้งสองร่วมกับพวกให้กู้เงินโดยทำสัญญาเช่าซื้ออันเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงินเพื่อเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3
******************************
3. มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 ค้นหาทนายใกล้คุณได้ที่เวปไซต์นี้ www.ทนายใกล้คุณ.com
ทนายเล่าเรื่อง การกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเรียกได้กี่ปี
ตามสัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้จะชำระหนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญา โดยผู้กู้ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ทุกๆ เดือน ติดต่อกันภายในวันที่สิ้นสุดของเดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดข้อหนึ่งข้อใด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งสัญญานี้ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เรียกหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันที แต่ตามสัญญาข้อต่อไประบุว่า เมื่อสัญญานี้ครบกำหนดหากผู้ให้กู้หรือผู้กู้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้บอกเลิกสัญญานี้ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี ตลอดไป โดยมีเงื่อนไขและข้อตกลงเดิมทุกประการจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้บอกเลิกสัญญา และหากผู้ให้กู้บอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ตาม ผู้กู้จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดในทันที แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาที่จะให้สัญญาสิ้นสุดลงในทันทีที่ครบกำหนดในแต่ละปี แต่ถือเอาการบอกเลิกสัญญาของแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญ การที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดตามสัญญา คงมีผลทำให้ผู้ให้กู้มีสิทธิที่จะถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมด และเรียกหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันทีตามสัญญาเท่านั้น แต่ตราบใดที่ผู้ให้กู้ยังมิได้บอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมด สัญญากู้ก็ยังมีผลต่อไป คู่สัญญาต้องผูกพันกันตามสัญญาดังกล่าว
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 27 มกราคม 2538 ให้จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายใน 7 วัน เป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวของโจทก์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538 จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2538 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 จำเลยที่ 1 ต้องชำระต้นเงินแก่โจทก์ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ โจทก์ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินแก่โจทก์ได้นับแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2538 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 โจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ ฟ้องโจทก์สำหรับต้นเงินจึงไม่ขาดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้มีกำหนดอายุความ 5 ปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ" จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2534 จำนวน 28.99 บาท โจทก์นำไปหักชำระดอกเบี้ยก่อน คงมีดอกเบี้ยค้างชำระจำนวน 212.91 บาท ในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 19,361.41 บาท จำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตลอดมา โจทก์สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไป ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันฟ้อง ดังนั้น ฟ้องโจทก์ในส่วนดอกเบี้ยที่มีกำหนดเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไปย่อมขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไป
****************************
4. ปรึกษาทนายสู้คดี 099 464 4445 ค้นหาทนายได้ที่เวปไซต์นี้ www.สู้คดี.com
ทนายเล่าเรื่อง เจตนายืมเงินหรือเจตนาเช่าซื้อกันแน่ แต่ที่แย่คือศาลพิจารณาแล้วว่าเป็นการให้กู้เงิน และเรียกดอกเบี้ยเกินกำหนดครับ
เมื่อ บ. ทำสัญญาเช่าซื้อทองคำในราคา 16,500 บาท แล้ว ในวันเดียวกัน บ. นำสร้อยคอทองคำไปขายที่ร้าน ว. ได้เงิน 11,437 บาท ส่วน ส. ทำสัญญาเช่าซื้อทองคำในราคา 16,603 บาท แล้วนำไปขายที่ร้าน ว. ได้เงิน 10,000 บาท การที่ บ. และ ส. ขายทองคำที่ได้รับมาไปในทันที โดย บ. และ ส. ต้องผ่อนชำระวันละ 95 บาท เป็นเวลา 174 วัน และ 175 วัน ตามลำดับ เชื่อได้ว่า บ. และ ส. ต้องการเงินจากบริษัท จ. เท่านั้น ไม่มีเจตนาเช่าซื้อทองคำไว้เป็นของตน ดังนั้น นิติสัมพันธ์ที่แท้จริงจึงเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินมิใช่การเช่าซื้อ แม้มีการทำสัญญาเช่าซื้อก็เป็นเพียงนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินที่แท้จริง โดยการกู้ยืมเงินดังกล่าวคิดผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 80 ต่อปี เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
*****************************